องค์ประกอบของเทศบาล
เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ตั้งขึ้นเป็นรูปแบบแรกภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่ที่มีความเจริญก้าวหน้ามาก
ประเภทของเทศบาล มี 3 ประเภท
1. เทศบาลตำบล
2. เทศบาลเมือง
3. เทศบาลนคร
สภาเทศบาล
- สภาเทศบาล คือ ฝ่ายนิติบัญญัติของเทศบาล ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวน ดังนี้
s สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิก 12 คน
s สภาเทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิก 18 คน
s สภาเทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิก 24 คน
2.สมาชิกสภาเทศบาลอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
3. สภาเทศบาลมีประธานสภา 1 คน : รองประธานสภา 1 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาล ตามมติของสภาเทศบาล : ดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาเทศบาล
. ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสภาเทศบาล 4 สมัย ๆ ละไม่เกิน 30 วัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด : นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว หากมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเทศบาล สามารถขอเปิดประชุมวิสามัญได้ สมัยประชุมวิสามัญมีกำหนดไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด : การประชุมสภาเทศบาล ต้องมีสมาชิกสภาเทศบาลมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล
สภาเทศบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. เลือกประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาล เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งหรือมีมติให้ประธานสภาเทศบาลหรือรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง
2. เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภาเทศบาลและเลือกตั้งบุคคลตั้งบุคคลผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภาเทศบาล
3. รับทราบนโยบายของนายกเทศมนตรี ก่อนนายกเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่และรับทราบรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายกเทศมนตรีได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาล เป็นประจำทุกปี
อนุมัติร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนา 3 ปี
5. ให้ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัติ : ร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจำปีและร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ของเทศบาล
6. ในที่ประชุมสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิเลือกตั้งกระทู้ถามนายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรี : เสนอญัตติขออภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ
7. ในกรณีกิจการอื่นใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของเทศบาลหรือประชาชนในท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ หรือนายกเทศมนตรีสามารถเสนอต่อประธานสภาเพื่อให้มีการออกเสียงประชามติและประกาศใช้ประชาชนทราบ : ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ : การออกเสียงประชามตินี้ให้มีผลเป็นเพียงการให้คำปรึกษาแก่สภาเทศบาลหรือนายกเทศมนตรีในเรื่องนั้น
นายกเทศมนตรี
- นายกเทศมนตรี คือ ฝ่ายบริหารของเทศบาลทำหน้าที่ด้านการบริหาร
- เทศบาลหนึ่งมีนายกเทศมนตรี 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น : ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระไม่ได้ : เมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้น 4 ปี นับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
- นายกเทศมนตรีสามารถแต่งตั้งรองนายก ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาล และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี ได้ตามเกณฑ์ ดังนี้
v เทศบาลตำบลไม่เกิน 2 คน
v เทศบาลเมืองไม่เกิน 3 คน
v เทศบาลนครไม่เกิน 4 คน
4. นายเทศมนตรี สามารถแต่งตั้งเลขานุการและที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้จำนวนรวมกัน สำหรับเทศบาลตำบลไม่เกิน 2 คน : เทศบาลเมืองไม่เกิน 3 คน
: เทศบาลนครไม่เกิน 5 คน
อำนาจหน้าที่นายกเทศมนตรี
นายกเทศมนตรี มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายกเทศมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลโดยไม่มีการลงมติหากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสมาชิกสภาเทศบาลทุกคน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาล เป็นประจำทุกปี
1. มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 48 <span style="line-height: 115%; font-family: "Cordia New","sans-serif"; font-size: 14pt; mso-ansi-font-size: 11.0pt; mso-ascii-font-family: Calibri; mso-ascii-theme-font: minor-latin; mso-hansi-font-family: Calibri; mso-hansi-theme-font: mino |